top of page
ค้นหา

หลวงปู่เที่ยง ติสสาโร วัดสำนักขามยอดปรมาจารย์ว่านแห่งตะวันออก

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 24 มิ.ย. 2564
  • ยาว 1 นาที

หลวงปู่เที่ยง ติสสาโร วัดสำนักขาม ยอดปรมาจารย์ว่านแห่งตะวันออก ศิษย์หลวงพ่อโด่-ร่วมยุค"หลวงปู่ทิม"

ทีมข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอนำเสนอ เรื่องราวประวัติ “หลวงปู่เที่ยง ติสสาโร”ปฐมเจ้าอาวาสวัดสำนักขาม ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เรื่องราวของท่านอาจไม่ชัดเจน เพราะมาจากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่สืบต่อกันมา แต่ที่แน่ๆคือ ท่านเชี่ยวชาญด้านว่านสารพัดชนิด เป็นศิษย์เอกหลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม และเป็นเกจิรุ่นน้องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง

หลวงปู่เที่ยงเกิดเมื่อปีพ.ศ.2434 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่5 ที่หมู่บ้านหนองหญ้าปล้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มีชื่อและนามสกุลเดิมว่า "บุญเที่ยง ภู่ยิ้ม"

เมื่ออายุย่างเข้าวัยรุ่นโยมทั้งสองนำไปฝากให้เป็นเด็กวัดอยู่กับหลวงพ่อโด่ที่วัดนามะตูมศึกษาวิชาทางศาสนาและหัดอ่านเขียน ภาษาไทยอยู่ประมาณ 2 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรแล้วศึกษาวิชาอาคมต่างๆกับหลวงพ่อโด่ โดยหน้าที่ประจำที่ได้รับมอบหมายคือ การดูแลเลี้ยงว่านที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะหลวงพ่อโด่รักษาโรคด้วยยาสมุนไพรตำรับโบราณ

หลวงพ่อโด่สอนให้ทุกอย่างตั้งแต่การรดน้ำว่านก็ต้องภาวนาคาถากำกับ การเก็บว่านที่ได้อายุแล้วไว้ผสมยารักษาโรค และไว้ผสมผงพุทธคุณต่างๆเพื่อทำพระเครื่องให้บูชา ก็ต้องดูฤกษ์ยามวันข้างขึ้นหรือข้างแรม ซึ่งท่านทำหน้าที่นี้ได้อย่างดีเพราะมีใจรักและชอบอยู่แล้ว

ทุกวันหลังจากฉันเช้าแล้วก็รดน้ำว่าน หลังจากนั้นก็นำว่านที่เก็บมาแล้วออกผึ่งแดด แล้วเก็บก่อนเที่ยง จากนั้นเอาออกตากอีกประมาณบ่าย 3 โมง เก็บประมาณ 5 โมงเย็นและรดน้ำว่านอีกครั้งจนค่ำ โดยกิจวัตรที่หลวงพ่อโด่จัดให้เริ่มตั้งแต่ทำวัตรเช้าตี 4 ไปจนเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 3 ทุ่มทุกวันเป็นประจำ

ช่วงหนึ่ง หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ท่านได้มาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ทำให้หลวงพ่อเที่ยงมีโอกาสได้รับคำแนะนำสั่งสอนและถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ อยู่ประมาณ2ปีแล้วกลับไปอยู่ระยอง โดยหลวงปู่ทิมได้ขอว่านต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการสร้างพระ พร้อมกับมอบลูกอมผงพรายกุมารให้กับหลวงพ่อเที่ยงจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกอมที่ได้พบในเวลาต่อมา

หลวงพ่อเที่ยงอุปสมบทเมื่อปีพ.ศ.2455 ที่พัทธสีมาวัดหน้าพระธาตุ จ.ชลบุรี แล้วมาจำพรรษาที่วัดนามะตูมศึกษาอยู่กับหลวงพ่อโด่ เช่นเดิม และยังไปมากาสู่กับหลวงปู่ทิม เคยเอาว่านที้เลี้ยงไว้แบะตากแห้งแล้วไปถวาย บางครั้งหลวงปู่ทิมก็ให้ลูกศิษย์มาเอาว่านที่หลวงพ่อเที่ยงจัดไว้ให้เป็นการเฉพาะ

หลวงปู่ทิมเคยให้ลูกอมท่านมาหนึ่งบาตรสีดำกับผงพรายกุมารอีกหนึ่งปิ่นโต หลวงปู่ทิมทำผงพรายกุมารอยู่3ครั้ง ทุกครั้งหลวงพ่อเที่ยงจะมีส่วนถวายว่านให้แล้วได้รับส่วนแบ่งจากหลวงปู่ทิมทุกครั้ง ของที่ได้มาท่านไม่เคยนำออกจำหน่าย มีแจกทานไปบ้าง ที่เหลือเก็บใส่กรุไว้ใต้ฐานพระในวิหารที่ท่านนั่งทำวัตรสวดมนต์

ต่อมาหลวงพ่อเธียร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้เปิดกรุพระเก่า ซึ่งท่านนั่งปฏิบัติในโบสถ์เก่าเกิดนิมิตว่า มีพระรูปหนึ่งในนิมิตองค์โตใหญ่มากมาบอกว่า "เห็นอะไรใต้ดินไหม" เจ้าอาวาสก็ตอบว่า "ไม่เห็นอะไรเลย" หลวงพ่อองค์นั้นบอกว่า "ในนี้มีของมีค่าสำคัญ เอาไว้สร้างวัดและบำรุงพุทธศาสนา"

เมื่อเจ้าอาวาสออกจากนิมิตแล้ว ต่อมาได้ขุดดินในตำแหน่งที่หลวงพ่อองค์โตใหญ่บอกปรากฎว่า มีพระสมเด็จ, พระปิดตา, ลูกอม จำนวนมาก และได้ตั้งคณะกรรมตรวจสอบและพิสูจน์ได้ข้อมูลว่า พระสมเด็จและพระปิดตา เป็นของเจ้าคุณนรฯ และลูกอมเป็นของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ โดยภายหลังได้ทราบว่า หลวงพ่อองค์โตใหญ่ในนิมิตนั้นก็คือ "หลวงพ่อเที่ยง" เจ้าอาวาสองค์ก่อน เป็นพระที่ชำนาญเรื่องว่านแห่งภาคตะวันออก

ทั้งนี้ ลูกอมพรายกุมาร กรุวัดสำนักขาม เป็นวัตถุมงคลของหลววปู่ทิมได้รับความนิยมสูงเช่นกัน และเป็นเมตตาของหลวงปู่เที่ยงที่มอบให้ญาติโยมอย่างแท้จริง โดยที่เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันได้พบกระดาษข้อความดำริของหลวงปู่ กล่าวคือ มีกระดาษหนึ่งแผ่น วางไว้บนลูกอม เขียนด้วยลายมือหลวงพ่อเที่ยง เจ้าอาวาสองค์ก่อน ท่านเขียนไว้ว่า "ลูกอมให้แจก ห้ามจำหน่าย"

เมื่อหลวงพ่อเธียรท่านได้อ่านก็หยิบกระดาษมาขยำทิ้ง เพราะกระดาษเหลืองและกรอบไปตามอายุ และคิดในใจว่า ลูกอมหากนำไปแจก ทางวัดก็จะไม่มีรายได้ น่าจะนำออกให้บูชาเพื่อหาเงินมาสร้างโบสถ์ พอช่วงระหว่างที่ท่านกำลังนอนจำวัด ท่านก็เห็นมีร่างดำใหญ่มาถีบท่านจนตกเตียงนอน ท่านจึงไม่กล้าจำหน่ายลูกอม จึงนำมาแจกให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญทั้งชุดพระกรุจำนวน 3 องค์ และเฉพาะลูกอมในส่วนที่เหลือ

ทั้งนี้ มีหลักฐานปรากฏว่า หลวงพ่อเที่ยงเคยรักษาการเจ้าอาวาสวัดหนองยาง อ.บ้านบึง ซึ่งเป็น1ใน3วัดที่หลวงพ่อโด่ท่านสร้างไว้ (อีก2 วัดคือ วัดเนินหลังเต่า และวัดทุ่งเหียง) แต่ด้วยท่านชอบความสงบจึงปลีกวิเวกมาสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่บ้านสำนักขาม ซึ่งอยู่ห่างออกมาประมาณ3ก.ม. โดยได้พัฒนาจนได้รับการยกฐานะเป็นวัด และท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก









 
 
 

Comentários


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page