top of page
ค้นหา

"หลวงพ่อมนัส จันทูปโม"วัดยายร่ม เขตจอมทอง กทม.พระนักปฏิบัติ-นักพัฒนา

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 21 มิ.ย. 2564
  • ยาว 1 นาที




ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอนำเสนอ ประวัติ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่เคยได้รับอาราธนานิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดเส้าหลิน ที่ประเทศจีน

“พระครูโสภิตบุญญาทร หรือ หลวงพ่อมนัส จันทูปโม” เจ้าอาวาสวัดยายร่ม แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ พระนักปฏิบัติ พระนักพัฒนาที่มีผลงานเป็นรูปธรรมมากมาย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

ท่านเกิดในสกุล"เทศมาสา" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ก.พ. 2495 ณ บ้านเลขที่ 122 หมู่ที่ 5 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม. จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนพุทธบูชา ศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดยายร่ม แขวงบางมด เขตจอมทอง มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จันทสิริ) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูธรรมฉัตรสุนทร (แสวง นันทิโย) อดีตเจ้าอาวาสวัดยายร่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเทพวรมุนี (สุกรี สุตาคโม) วัดหนังราชวรวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "จันทูปโม"

จากนั้นได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี–โท–เอก ตามลำดับในสำนักเรียนวัดราชโอรส กทม. ปีพ.ศ.2526 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดยายร่ม ปีพ.ศ.2527 เข้ารับการอบรมพระธรรมทายาท วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จ.นนทบุรี

ด้วยความโดดเด่นทางด้านการสอน การเทศน์ จึงได้เป็นวิทยากรพิเศษอบรมประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เป็นองค์แสดงธรรมเทศนาสั่งสอนประชาชนประจำอุโบสถ

ปีพ.ศ.2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยายร่ม เป็นครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา นักเรียนโรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์ รังสรรค์) ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดยายร่มและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ในราชทินนาม “พระครูโสภิตบุญญาทร”

ปีพ.ศ.2543 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ระหว่างนั้นได้รับหน้าที่ในการสานงานก่อ สร้างอุโบสถ 2 ชั้น ต่อจากพระครูโสภณธรรมรส ซึ่งได้วางรากฐานไว้ ในพิธีพระราชทานเพลิงอดีตเจ้าอาวาส ท่านได้เป็นแม่แรงใหญ่ในการสร้างเมรุลอยไม้สักพร้อมปราสาทตั้งปรก จนเป็นที่รู้จักกันดีทั้งละแวกใกล้เคียงและต่างจังหวัด จุดประสงค์เพื่อเป็นการบูชาคุณพระอาจารย์

ผลงานโดดเด่นอีกอย่าง คือการสร้างอุโบสถ 2 ชั้น ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยโดยยึดหลัก “ประหยัดยิ่ง ประโยชน์สุด” โดยท่านกล่าวว่า อุโบสถหลังเดิมทรุดโทรม ไม่สามารถที่จะบูรณะซ่อมแซมได้แล้ว ทั้งบริเวณเนื้อที่ของวัดก็ไม่ได้กว้างขวางเท่าที่ควร หากการสร้างอุโบสถชั้นเดียวเหมือนเดิมก็คงจะใช้งานได้เฉพาะพระสงฆ์ทำวัตร ทำสังฆกรรมเท่านั้น การสร้างอุโบสถ 2 ชั้น จะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะชั้นบนเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ในวัด ชั้นล่างยังสามารถใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาใช้ในกิจกรรมอื่นๆ เช่น เป็นที่ประชุมสัมมนา เป็นที่อบรมนักเรียน หรือจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานที่

นอกจากจะเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์ ความสวยงามแล้วยังรักษาเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย ภายในอุโบสถมีภาพแกะสลักด้วย ไม้สัก เรื่องราวทางพระพุทธศาสนาและวรรณคดีให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า อาทิ ภาพพุทธประวัติ 32 ภาพ ภาพพระเวสสันดรชาดก 14 ภาพ ภาพพระเจ้าสิบชาติ 10 ภาพ ภาพราม เกียรติ์ 20 ภาพ ภาพประกอบประตูหน้าต่าง 14 ภาพ ภาพพระมาลัย 14 ภาพ ภาพพาหุง พระ พุทธเจ้าชนะมาร 8 ภาพ ภาพลายไทยประกอบอีกมากมาย ภาพปริศนาธรรม 47 ภาพ

ภาพแต่ละภาพแกะจากช่างฝีมือดี มีความชำนาญ การวางภาพแต่ละภาพจึงมีความเหมาะสมกลมกลืน ดูแล้วสบายตา เข้าใจง่าย ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ความภูมิใจฝีมือของคนไทยที่มีความศรัทธาวิริยะ อุตสาหะ และมีความอดทน ภาพแกะสลักเหล่านี้ จะเป็นมรดกอันล้ำค่าของพุทธศาสนิกชนไปอีกนาน

วัดยายร่ม ตั้งอยู่เลขที่ 24 ถ.พระราม 2 (ธนบุรี – ปากท่อ) หมู่ที่ 6 ซอย 33 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ"วัดจุฬามณี" ตั้งเมื่อพุทธศักราช 2365 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ปีพุทธศักราช 2478 ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 7 ไร่

วัดยายร่มอยู่ติดริมคลองบางมด ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงสภาพแวดล้อมทั่วไปแต่ก่อนเป็นพื้นที่การเกษตรสวนส้มเขียวหวาน พอมาปัจจุบันสวนส้มไม่มีเกิดจากน้ำเสียสภาพแวดล้อม จึงกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรม

 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page