top of page
ค้นหา

ฮือฮา!คลื่นศรัทธาแห่ขอพรรูปเหมือน"หลวงพ่อทอง"วัดเขากบ นครสวรรค์

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 24 มิ.ย. 2565
  • ยาว 2 นาที

ฮือฮา!คลื่นศรัทธาแห่ขอพรรูปเหมือน สร้างไว้ยาวนานบรรจุอัฐิพระเกจิชื่อดัง "หลวงพ่อทอง"วัดเขากบ นครสวรรค์ 1ใน10สุดยอดเกจิพลังจิตสูงยุคปี2452 ตัวเบา-ถ่ายรูปไม่ติด-ย่นระยะทางได้!

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ทีมข่าวหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ได้บุกพิธีสูจน์ความศรัทธาของคลื่นมหาชน ที่มีต่อ “หลวงปู่ทอง” อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกวัดวรนาถบรรพต (เขากบ) ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ แห่กราบขอพรรูปเหมือนของท่านอย่างเนืองแน่น ซึ่งเป็นหล่อเนื้อโลหะเท่าองค์จริง ภายในบรรจุอัฐิธาตุของท่าน ซึ่งเชื่อว่ามีควาทเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์มาก

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ทรงคุณวิเศษ มีวิชาที่เข้มขลัง แม้จะมรณภาพไปนาน แต่ก็เป็นที่เคารพสักการะของชาวปากน้ำโพและประชาชนทั่วไป อีกทั้งชื่อเสียงของหลวงปู่ทองที่มีอาคมขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยังเลื่องลือจนปัจจุบัน

จากการได้สัมภาษณ์ พระราชรัตนเวที เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ของ วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

ท่านเมตตา เล่าให้ฟังว่า ประวัติหลวงปู่ทองไม่ค่อยมีใครรู้มากนักเนื่องจากท่านเป็นพระค่อนข้างเก็บตัวไม่ ได้ออกเครื่องรางของขลัง ทำให้ไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก เท่าที่ฟังจากคำบอกเล่าของลูกศิษย์ใกล้ชิดพอจะได้ความว่าเป็นชาวทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ รุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า แม้แต่หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พระเกจิชื่อดังนครสวรรค์ ยังให้ความเคารพและยังมาปลุกเสกเหรียญรุ่น1ให้ท่าน

หลวงพ่อทอง ชอบการธุดงค์จนได้มาพบที่รกร้าง กลายเป็นตำนานเล่าขานสืบกันมาว่า …คราหนึ่ง มีพระธุดงค์รูปหนึ่งนามว่าทอง เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ข้างหมู่บ้านเชิงเขาแห่งหนึ่งใน จ.นครสวรรค์ ทุกเช้าจะเดินบิณฑบาต จนวันหนึ่งไปพบเจดีย์ใหญ่เก่าแก่มาก จึงตรงไปที่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ๆ เพื่อสอบถาม พบสองตายายจึงถามว่า “ชื่ออะไร ที่ดินแปลงนี้เป็นของใคร”

ตาตอบว่า “พระคุณเจ้า ชื่อตากบ อยู่ด้วยกันกับยายเขียด ที่แห่งนี้เป็นของฉันเอง มีอยู่ร้อยไร่เศษ กว้างคลุมยอดเขานั่นเทียว ส่วนเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์เก่าแก่ ชาวบ้านแถบนี้นับถือกันมาก หากจะใช้ที่ดินแห่งนี้เป็นที่พำนัก ก็ยินดีถวายให้เป็นที่สร้างวัด เพราะฉันกับยายก็แก่มากแล้ว”

ต่อมาชาวบ้านจึงได้ช่วยกันสร้างกุฏิเล็กๆ ก่อนสร้างอุโบสถและศาลาขึ้น ต่อมาเมื่อตากบและยายเขียดถึงแก่กรรม หลวงพ่อจึงกำหนดที่ดินทั้งหมดเป็นที่ดินของวัด และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดเขากบ” ตามชื่อเจ้าของที่ดิน

หลังจากฌาปนกิจศพตายายแล้ว ท่านได้ให้ช่างปั้นรูปจำลองทั้งคู่ไว้ที่หน้าอุโบสถ เพื่อเป็นที่ระลึก ปรากฏอยู่กระทั่งทุกวันนี้…เนื่องจากในสมัยนั้น เชิงเขากบเป็นป่าสักมากมาย หลวงพ่อจึงตั้งชื่อว่า เขากบทราวสีจอมคีรี ณ ป่าสัก

ต่อมา สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ขณะนั้นเป็นเจ้าคณะมณฑล เห็นว่าวัดกบตั้งอยู่เชิงเขา จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็นวัดวรนาถบรรพต แปลได้ว่า "ภูเขาซึ่งเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ" แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่า "วัดกบ" และ"วัดเขากบ"จนติดปากมาทุกวันนี้

หลวงพ่อทอง มีความเพียรอย่างแรงกล้า ลงมือทำงานและบูรณะวัดเขากบด้วยตัวท่านเอง โดยใช้เวลาบูรณะพระเจดีย์ ซึ่งยอดหักนานถึง 10 ปี และทำโบสถ์อยู่ 5 ปี ทั้งยังบูรณะวิหารพระนอน กำแพงวิหาร ฯลฯ

ในปี พ.ศ.2452 มีการจัดทดสอบวิทยาคมและพลังจิตของพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษจากสำนักต่างๆ ทั่วประเทศ ที่บริเวณวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม มีพระเกจิเข้าร่วมประมาณ 100 กว่ารูป

งานนี้เรียกได้ว่า พิธีชุมนุมพระเกจิชื่อดังทั่วแดนสยาม ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (สังฆราชเข) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ในพิธีมีการทดสอบวิทยาคมและพลังจิตอย่างเข้มขลัง โดยคัดเลือกเกจิอาจารย์ครั้งละ 10 รูป ด้วยวิธีจับสลาก จากนั้นนำท่อนไม้ 1 ท่อน มาวางบนม้า 2 ตัว จากนั้นนำกบไสไม้วางบนท่อนไม้ โดย สมเด็จพระสังฆราช (เข) ทรงบอกกติกาว่า เกจิทุกรูปจะต้องใช้พลังจิตบังคับให้กบไสไม้วิ่งไสไม้ไป-กลับโดยกบห้ามหล่น ลงมาเด็ดขาด หากใครพลังจิตแก่กล้าจริงก็จะสามารถทำได้ หากใครพลังจิตยังไม่สุดยอดก็ต้องยอมล่าถอยไป

ปรากฎว่าหลังการทดสอบผ่านไป 3 วัน 3 คืน เกจิส่วนใหญ่ใช้พลังจิตบังคับกบวิ่งไสไม้ได้ทั้งนั้น แต่บังคับวิ่งไปข้างหน้าได้ทางเดียว บังคับกลับไม่สำเร็จ มีเพียงเกจิ 10 รูปเท่านั้นที่สามารถบังคับกบไสไม้ได้ทั้งไป-กลับ ถือว่าเป็น 10 พระเกจิผู้มีความเข้มขลังในวิทยาคมและพลังจิตสูงสุดแห่งสยามยุค 2452 ประกอบด้วย

หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ, หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม, หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (วัดบางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ, หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ จ.ชุมพร และหลวงพ่อทอง วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) จ.นครสวรรค์

ด้วยความที่หลวงพ่อทองเป็นพระสมถะ เคร่งในวัตรปฏิบัติ จึงไม่ชอบสร้างวัตถุมงคล มีเรื่องเล่าในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ แม้แต่รูปถ่ายท่านก็ไม่ยอมให้ใครถ่าย มีคนมาแอบถ่ายก็ไม่ติด จนลูกศิษย์ต้องขอร้อง เพื่อขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกท่านจึงอนุญาต

น้ำมนต์ของท่านศักดิ์สิทธ์มาก แต่จะเป็นที่รู้กันของชาวบ้านว่า น้ำมนต์ หลวงพ่อทองให้อธิษฐานแล้วให้ดื่มได้อย่างเดียว ห้ามใช้อาบโดยเด็ดขาด!

มีเรื่องเล่าขานถึงหลวงปู่ทองมากมาย อาทิ ครั้งหนึ่งเมื่อท่านขึ้นไปพอกปูนยอดเจดีย์อยู่บนนั่งร้านที่สูงกว่า 20 ศอก แล้วเกิดพลัดตกลงมาจากนั่งร้านลงมาถึงพื้นดิน แทนที่จะได้รับบาดเจ็บ ท่านกลับลุกขึ้นปัดฝุ่นที่จีวรแล้วกลับขึ้นไปพอกปูนต่อ เป็นที่อัศจรรย์แก้ผู้พบเห็นจนเลื่องลือว่าท่าน มีวิชาตัวเบา

อีกเรื่องที่เล่าขานกันมาจนปัจจุบันว่าหลวงปู่ทองสามารถย่นระยะทางได้ โดยมีผู้พบเห็นท่านบิณฑบาตไกลถึงบ้านแดนเขตบรรพตพิสัย บ้านบางแก้วบ้าง บ้านหาดทรายงามบ้าง ครั้งหนึ่งท่านรับกิจนิมนต์ไปถึงกรุงเทพฯ ขากลับท่านให้ลูกศิษย์กลับมาก่อนโดยท่านแวะเสวนาธรรมกับพระนักธรรมใน กทม.ก่อน แต่เมื่อลูกศิษย์กลับมาถึงวัดก็พบว่าหลวงปู่ทองจำวัดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นที่ร่ำลืออีกว่าท่านสามารถย่นระยะทางได้

หลวงพ่อทองพัฒนาวัดเขากบจนเจริญรุ่งเรือง และจำพรรษาอยู่ตลอดอายุขัย มรณภาพวันที่ 18 เมษายน 2484 สิริอายุเกือบ 80 ปี

ท่านสร้างวัตถุมงคลอยู่ไม่กี่อย่าง แต่ละอย่างล้วนหายากเล่นยาก วัตถุมงคลได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก” ที่เรียกกันว่า “เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นหลังเงา”

เหรียญหลวงปู่ทอง รุ่นหลังเงานี้ ด้านหน้าเป็นรูปองค์หลวงพ่อทองครึ่งองค์ ห่มจีวร พาดสังฆาฏิ และรัดประคตอกที่เรียกว่า ‘ห่มเต็ม’ มีอักษรภาษาไทยจารึกว่า "หลวงพ่อ วัดกบ" ส่วน ด้านหลัง ตรงกลางประดิษฐานเป็นรูปพระเจดีย์องค์ใหญ่แห่งวัดเขากบ กลางองค์เจดีย์เป็นยันต์ ‘ตัวเฑาะขัดสมาธิขึ้น’ยอดเป็น ‘อุณาโลม’

ที่น่าแปลกก็คือ บริเวณพื้นเหรียญด้านหลังมีรูปหลวงพ่อทองแกะเป็นลายเส้นบางๆ เห็นเป็นเงาจางๆ อันเป็นที่มาแห่งชื่อเหรียญที่เรียกว่า รุ่นหลังเงา นับเป็นเหรียญรูปองค์หลวงพ่อรุ่นแรก

ต่อมามีการออกเหรียญรูปองค์หลวงพ่ออีก อาจเรียกได้ว่าเป็น รุ่นสอง แต่ด้านหลังไม่มีเงา ก่อนจะมีรุ่นสามและรุ่นอื่นๆ ตามมา ซึ่งทุกรุ่นล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมในหมู่นักเล่นหาสะสมทั้งสิ้น

วัตถุมงคลรุ่นหลังๆแม้ไม่ทันท่าน ประสบการณ์ดีเหลือเกินโดนกันมาเยอะ เศรษฐีนครสวรรค์ท่านหนึ่ง คล้องเหรียญรุ่น 2 องค์เดียวโดนยิงจังๆ แต่ไม่เข้า!












 
 
 

Comments


  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page