top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนอ.อนุชา ทรงศิริ

พระคลังมหาสมบัติ“พระอาจารย์มหาต่อ”






สุดยอดวัตถุมงคล พระคลังมหาสมบัติ เทพเทวดาผู้คอยดูแลทรัพย์สินสมบัติ จัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เป็นขวัญกำลังใจในต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองอยู่ในปัจจุบัน สักการบูชากราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล กำหนดพิธีพุทธาเทวาภิเษก ในวันที่ 28 มีนาคม 63 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ 5 โดยมี พระอาจารย์มหาต่อ ธรรมรังสี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง คณะ 6 วัดพระนารายณ์มหาราช จ.นครราชสีมา เป็นประธานในการจัดสร้าง ขนาดบูชาความสูง 17 นิ้ว ฐานกว้าง 5 นิ้ว หล่อทองเหลืองโบราณ ปิดทอง ร่วมบุญบูชาองค์ละ 4,999 บาท สอบถามรายละเอียด โทร.090-901-5662, 094-524-5455

พระอาจารย์มหาต่อ ธรรมรังสี ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นพระของพระคลังมหาสมบัติ ว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวรูปขึ้น ประดิษฐานไว้ในอาคารที่ตั้งของพระคลังมหาสมบัติ หรือที่เรียกว่า “พระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” โดยมีลักษณะเป็นเทวดาหล่อยืน ทรงเครื่องกษัตริยาธิราช สวมมงกุฎยอดชัย (หรือพระมหามงกุฎ) พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ อันเป็นลักษณะของผู้ปกป้องคุ้มครอง ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการบูชา ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีนทำด้วยไม้จันทน์ทาชาดสีแดง มีประตูเป็นบานเฟี้ยมถอดได้ แกะสลักลวดลายแบบจีน ลงรักปิดทอง สันนิษฐานกันว่าการสร้างพระคลัง มีนัยยะคล้ายกับการสร้างพระสยามเทวาธิราช ทั้งในด้านรูปลักษณะในท่าที่ทรงยืน ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงแบบกษัตริย์ สวมมงกุฎยอดชัย ซึ่งหากจะเปรียบกับตัวโขนในมหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์แล้ว ตัวพระซึ่งเป็นเชื้อสายกษัตริย์ คือ ‘พระราม’ หรือแม้แต่ ‘พระลักษณ์’ ก็สวม ‘มงกุฎยอดชัย’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระมหามงกุฎเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเปรียบเสมือนเทพยดาศักดิ์สิทธิ์ ที่คอยอภิบาลรักษา โดยองค์พระสยามเทวาธิราชเป็นดั่งเทพที่คอยปกป้องบ้านเมือง ส่วน “พระคลัง” ดุจดังเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ สำหรับนัยยะของดอกบัวที่อยู่ในพระหัตถ์ซ้ายของ “พระคลัง”นั้น กล่าวกันว่า ‘ดอกบัว’ เป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และเทพเจ้าของฮินดู ซึ่งมีการนำมาใช้ในพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพราะถือเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ‘ดอกบัว’ ยังเป็นต้นเค้าของพุทธศิลป์ไทย เห็นได้จากการนำรูปทรงดอกบัวมาใช้เป็นองค์ประกอบเชิงศิลป์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปรองรับพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ รูปบัวหัวเสาในอาคารสถาปัตยกรรมไทย เทวรูป หรือรูปเคารพที่ทรงถือดอกบัว อาทิ เทวรูปพระแม่ลักษมี ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการนำรูปดอกบัวไปประทับบนเงินตรา เช่น รูปกระต่ายบนดอกบัวในเหรียญเงินทวารวดี รูปดอกบัวบนเงินพดด้วงสมัยอยุธยา และรูปบัวอุณาโลมบนเงินพดด้วงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์รวมถึงรูปแบบของเครื่องอิสริยยศหมวดเครื่องอุปโภค เช่น พานพระศรี หรือพานหมาก ตลอดจนรูปองค์ประกอบบนดวงตราและดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เป็นต้น ความเชื่อเกี่ยวกับ “พระคลัง” ว่าเปรียบดั่งเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ เป็นความเชื่อถือที่มีมาช้านาน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของข้าทูลละอองธุลีพระบาทที่รับราชการในพระคลังมหาสมบัติ นับจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก การที่ชาวกรมธนารักษ์ยังคงสืบทอดประเพณี “ถวายเครื่องสังเวย” (แปลว่า ให้อาหาร ให้เครื่องกิน ให้เครื่อง เซ่นไหว้) เทวรูปพระคลัง หรือที่ชาวกรมธนารักษ์เรียกกันว่า “พิธีไหว้เจ้าพ่อคลัง” ขึ้นทุกปีอย่างสม่ำเสมอ มิได้ขาดเพื่อขอให้ความเป็นสิริมงคลเกิดขึ้นแก่ผู้สักการบูชา และเป็นสิ่งที่ทุกคนได้พร้อมใจกันกระทำด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อ“เทวรูปพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” อย่างไม่เสื่อมคลาย

“อาตมาได้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ขึ้น เพื่อเป็นสิ่งมงคลมอบให้กับศิษยานุศิษย์ได้ร่วมบุญบูชา สนใจสั่งจองได้ที่คณะ 6 วัดพระนารายณ์มหาราช จ.นครราชสีมา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สร้างตามจำนวนสั่งจองเท่านั้น”

ดู 64 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page