top of page
ค้นหา

"หลวงปู่บุญรอด ธัมมทินโน" วัดกุดคูณ เกจิดังสายกรรมฐานเมืองอุบล-อายุ75ปี ศิษย์สายตรงหลวงปู่ฤาษีลิงดำ-หลวงปู่ชา

  • รูปภาพนักเขียน: อ.อนุชา ทรงศิริ
    อ.อนุชา ทรงศิริ
  • 13 ก.พ. 2567
  • ยาว 1 นาที

"หลวงปู่บุญรอด ธัมมทินโน" วัดกุดคูณ

เกจิดังสายกรรมฐานเมืองอุบล-อายุ75ปี

ศิษย์สายตรงหลวงปู่ฤาษีลิงดำ-หลวงปู่ชา

ทีมข่าวกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คัมภีร์นิวส์ ขอนำเสนอประวัติพระดีเกจิดังแห่งอีสานใต้...พระครูสารธรรมประคุณ ผศ.ดร.กิตต์ หรือ"หลวงปู่บุญรอด ธัมมทินโน" อายุ 75 ปี พรรษา 53 เจ้าอาวาสวัดกุดคูณ ต.ในเมือง เขต2 อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ศิษย์สายตรงหลวงปู่ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี,หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง

ชาติภูมิท่านเป็นชาวเมืองสุรินทร์ มีนามเดิมว่า "บุญรอด" นามสกุล "บุญมา" เกิดปีฉลู ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2492 ณ บ้านเลขที่ 17 หมู่ที่ 6 ต.กระหาด อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ บิดาชื่อ "นายแดง" มารดาชื่อ"นางวันดี"

​เมื่ออายุ22ปีได้เข้าอุปสมบทเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2514 ณ พัทธสีมา วัดศรีพรหมอุดมธรรม ต.กระหาด อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ โดยมีพระครูอณุโยคภัทรกิจ วัดปทุมทอง ต.กระหาด อ.จอมพระ จ.สุรินทร์

เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบริหารธรรมคุณ วัดขมิ้น ต.กระหาด อ.จอมพระ จ.สุรินทร์

เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิบูลย์ศาสนคุณ วัดศรีพรหมอุดมธรรม ต.กระหาด อ.จอมพระ​ จ.สุรินทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธัมมทินโน"

วิทยฐานะ พ.ศ.2504​สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านโคกเพร็ดโนนจำปา ต.กระหาด อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ พ.ศ.2522​สอบไล่ได้ตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 (ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น) ​จากโรงเรียนวิโรจน์รัตนวิทยา วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พ.ศ.2532​ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดบุรีรัมย์

พ.ศ.2562 มหาวิทยาลัยคุณธรรมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ถวายปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พ.ศ.2562 ได้เข้ารับการถวายรางวัลคชจักร (ครั้งที่1) ซึ่งรางวัลคุณธรรม มอบแก่บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาประจำปี 2562 พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยคุณธรรม แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา น้อมถวายปริญญา สาขาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด์ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยคุณธรรม (moral Intarnationnal university ) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา น้อมถวายตำแหน่งพิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งมหาวิทยาลัย

หลวงปู่บุญรอดท่านเป็นพระสายกรรมฐาน ลูกศิษย์ของพระราชพรหมยานเถระ หรือ หลวงปู่ฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) จ.อุทัยธานี ที่ได้เข้าเรียนกรรมฐานสายมโนมยิทธิ จากหลวงปู่ฤาษีลิงดำ และท่านยังได้เข้าฝึกปฏิบัติกรรมฐาน เป็นลูกศิษย์พระโพธิญาณเถระ หรือหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพงจังหวัดอุบลราชธานี และหลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก รวมทั้งพ่อแม่ครูอาจารย์แถบภาคกลางและภาคอีสานที่ท่านจาริกเที่ยวแสวงหาครูอาจารย์

หลวงปู่เป็นพระอาจารย์สอนมโนมยิทธิที่สำนักวัดโพธิ์ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา โดยเปิดสอนให้พุทธบริษัทที่สนใจในด้านวิปัสนาธุระ ได้บังเกิิดผลตามฐานานุรูปของแต่ละคนเป็นอย่างมาก

ท่านเป็นพระที่ใฝ่การศึกษาทั้งฝ่ายคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เป็นพระที่มีจิตอาสาทำงานไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยต่อสังคม ผลงานเป็นที่ประจักษ์สามารถพบเห็นได้ที่วัดกุดคูณ หรือในหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน มีลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพเลื่อมใส อาทิ ผู้พิพากษา อัยการ นักธุรกิจ ตลอดถึงข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ นักศึกษา พ่อค้า ประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก

ท่านครองตนแบบพระบ้านธรรมดาๆ เป็นพระชาวบ้านเข้าถึงได้ทุกคน สามารถแสดงธรรมที่เข้าใจง่ายและมักสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างที่ไม่ถือเนื้อถือตัว สามารถเข้าพบและปรึกษาปัญหาได้ตลอดเวลา จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนและคณะศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะประชาชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงมีพุทธศาสนิกชนฝั่งลาวมาฝากตัวเป็นบุตรบุญธรรมด้วย

ผลงานการปกครอง...ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการการสถานศึกษา ฝ่ายสงฆ์โรงเรียนเบญจมะมหาราช จ.อุบลราชธานี,เป็นกรรมการสถานศึกษาฝ่ายสงฆ์วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี,เป็นที่ปรึกษฝ่ายสงฆ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,เป็นกรรรมการที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ทำงานร่วมกับหน่วยงานราชฑัณจังหวัดอุบลราชธานี,เป็นที่ปรึกษาหน่วยงานราชการและเอกชนต่างๆ

สำหรับความเป็นมาของวัดกุดคูณ สมัยก่อนพื้นที่ชุมชนที่ตั้งวัดแห่งนี้เป็นชุมชนเล็กๆติดแม่น้ำมูล ชาวบ้านแถบนี้มีอาชีพหาปลาตามริมน้ำมูล ชาวบ้านในคุ้มชุมชนกุดคูณได้ร่วมกันสร้างที่พักสงฆ์เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยในปี พ.ศ.2483–2484 กรมการศาสนาได้มาสำรวจพื้นที่และมีการสร้างเป็นที่พักสงฆ์ กระทั่งปี พ.ศ.2515 มีการสร้างอาคารเล็กๆให้พระเณรได้ปฏิบัติธรรม

ต่อมามีพระภิกษุมาเรียนหนังสือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการทยอยสร้างกุฏิ ศาลากลางเปรียญ แต่ยังสร้างโบสถ์ไม่ได้ หลังจากนั้น 23 ปี จึงขอขึ้นทะเบียนเป็นวัดกับกรมการศาสนา โดยก่อนขึ้นทะเบียนเป็นวัด ชาวบ้านได้เรียกวัดกุดคูณ หลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็นวัดบ้านกุดคูณ วัดท่าแจ้ง วัดใหม่กุดคูณ เป็นต้น



 
 
 

Comentarios

No se pudieron cargar los comentarios
Parece que hubo un problema técnico. Intenta volver a conectarte o actualiza la página.
  • generic-social-link
  • generic-social-link
  • youtube

©2020 by kampeenews. Proudly created with Wix.com

เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสระบุรี คนทั่วไปจะต้องคิดถึง “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง เดียวในประเทศไทย ที่มีรอยพระพุทธบาทของแท้ประทับรอยอยู่ ในแต่ละปีจะมีทั้งพระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศตั้งใจเดินทางมากราบนมัสการ เพราะถือว่าหากได้เดินทางไปกราบรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีแล้ว เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

 ไม่ใช่ว่าสระบุรีจะมีแต่สถานที่เท่านั้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ของสระบุรีที่มากไปด้วยประสบการณ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันโด่งดังไปทั่วภูมิภาคและในท้องถิ่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ, พระอุปัชฌาย์กาน วัดโคกโพธิ์, อุปัชฌาย์ตัน วัดอู่ตะเภา, หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย, หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน และหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง เป็นต้น

 และยังมีพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ข้อวัตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะวางอุเบกขาได้อย่างยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยความเมตตาบารมีแก่คนทุกชั้นทุกกระดับอย่างเสมอภาค พระสงฆ์รูปนั้นคือ “พระครูอรรถธรรมาทร” หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า “หลวงพ่อเฮ็น แห่งวัดดอนทอง” ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านถึงจะสร้างไว้ไม่เก่ามาก แต่ความนิยมในหมู่นักสะสมก็ไม่ธรรมดา

 โดยเฉพาะ “เหรียญรุ่นแรก” และ “พระกริ่งดอนทอง” สนนราคาเล่นหาสูงขึ้นเรื่อย

 ตามประวัติ หลวงพ่อเฮ็นท่านถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีกุน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โยมบิดาชื่อนายอยู่ โยมมารดาชื่อนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

 เมื่ออายุได้ 8 ขวบได้ ไปศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอมกับพระอาจารย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งอยู่ไกล้บ้านของท่าน พออ่านออกเขียนได้ก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญอดทนกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านกะวาปาลาย แขวงเมืองกำพงธม เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลามีงานวัดมักจะนัดตีกันเป็นประจำ

 สำหรับนายเฮ็นพรรคพวกเพื่อนฝูงย่องให้เป็นลูกพี่ ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตกเกรงว่าหนทางข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล ต่อมาเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2474 ปีมะแม เมื่อนายเฮ็นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงทำการอุปสมบทให้ ณ พัทสีมาวัดพรรณนารายณ์ ตำบลกะวา อำเภอปาลาย แขวงเมืองกัมพงธม ประเทศกัมพูชา (เขมร) โดยมี พระอุปัชฌาย์แก้ว วัดพรรณนารายณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายว่า “สิริวังโส”

 เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพรรณนารายณ์ ทำอุปัชฌาย์วัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัยท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์ มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำและเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง

 สิ่งสำคัญได้ศึกษาเล่าเรียนในด้านคาถาอาคมจนมีความชำนาญ เจนจัดด้านวิชาแขนงต่างๆ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์รอนแรมมาตามป่าและภูเขาเพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

 ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ “วัดดอนทอง” เมื่อปี 2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา ปี 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอรรถธรรมทร”

 หลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ว่ากันว่าจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน

 หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี

 สำหรับวัตถุมงคล “ผ้ายันต์อุษาสวรรค์” นั้น เซียนพระเครื่องต่างเสาะแสวงหาสะสมกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหรียญรุ่นแรก “เหรียญเสมาหลวงพ่อเฮ็นรุ่นแรก ปี 2529” ยังที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง คณะศิษย์จัดสร้างถวายมุทิตาสักการะในโอกาสครบรอบอายุ 75 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดง

 ด้านหน้าเหรียญตรงกลาง เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเฮ็นนั่งขัดสมาธิเต็มองค์บนอาสนะ 3 ชั้น ด้านใต้ฐานอาสนะเขียนคำว่า “หลวงพ่อเฮ็น สุวรรณศรัทธา” ด้านในขอบโค้งใบเสมาด้านซ้ายล่าง เขียนว่า “พ.ศ.๒๕๒๙” ส่วนด้านขวาของเหรียญเขียนว่า “อายุ ๗๕ ปี” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลาง เป็นยันต์ ด้านบนยันต์เขียนว่า “วัดดอนทอง” ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า “ต.ดงตะงาว กิ่ง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี” ถือเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้านทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย

 ส่วนวัตถุมงคลที่กำลังมาแรงอีกพิมพ์ "พระกริ่งดอนทอง" เป็นรุ่นแรกที่สร้างในวาระหลวงพ่อเฮ็น ครบ 7 รอบ 84 ปี นับเป็นวัตถุมงคลรุ่นพิเศษ ที่ท่านได้มอบหมายให้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถันสมบูรณ์แบบที่สุด ทั้งด้านรูปลักษณ์พิมพ์ทรงที่ได้เน้นความสวยงามคมชัด รวมทั้งในด้านเนื้อหาซึ่งได้มอบชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งแผ่นจารตะกรุดสามพี่น้องของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ชนวนกริ่งญาณวิทยาคมพร้อมตะกรุดสาม กษัตริย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และแผ่นจารตะกรุดสามกษัตริย์ของหลวงพ่อเฮ็น

 ทั้งหมดได้นำมาหลอมผสมผสานเพื่อให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ ทรงคุณวิเศษยิ่งควรค่าแก่การบูชา ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2537 จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อสมทบทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ สมทบทุนอาหารกลางวัน และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ วัตถุมงคลรุ่นนี้ผู้ที่มีไว้ครอบครองเคยมีประสบการณ์กันมาแล้วในหลายๆด้าน เด่นทางเมตตา มหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาด โชคลาภ

 “พระกริ่งดอนทองรุ่นแรก” ที่จัดสร้างขึ้นเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 84 องค์ เนื้อเงินจำนวน 500 องค์ เนื้อนวะจำนวน 500 องค์ เนื้อทองเหลืองจำนวน 200 องค์ ด้านหลังตอกโค้ด “นะ พุท ธา” ชัดเจน เป็นวัตถุมงคลที่มาแรง พิมพ์สวยมีอนาคต ของปลอมแปลงยังไม่มี สนนราคาวิ่งแบบไม่คงที่ ขึ้นติดอยู่ในระดับหลักพันกลางๆ  

 วัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮ็นจึงเปี่ยมล้นด้านพุทธคุณ ทั้งคลาดแคล้วคงกระพันชาตรี, เมตตาค้าขายมหาเสน่ห์ และแก้อาถรรพณ์มนต์ดำขับไล่เสนียดจัญไรทั้งปวง เก็บสะสมไว้ไม่มีคำว่าผิดหวัง ในไม่ช้าไม่นานจะกลายเป็นวัตถุมงคลที่มากด้วยราคาและหายากยิ่ง

 นักสะสมมือใหม่รีบหาไว้บูชาด่วน!!!

bottom of page